ทำไมคนผมร่วง ผมบาง จึงเหมาะกับการทำ PRP ?

การฉีด PRP เส้นผม

ปัญหาผมร่วง ผมบาง มักเป็นปัญหาที่ลดทอนความมั่นใจของใครหลาย ๆ คน ที่ถึงแม้จะหาทางแก้ปัญหาเหล่านี้มานักต่อนัก แต่ก็ยังเกิดปัญหาผมร่วง ผมบางเหมือนเดิม อีกทั้งยังมากกว่าเดิมด้วยซ้ำเมื่อมีอายุที่มากขึ้น การฉีด PRP จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาเหล่านี้ อีกทั้งยังปลอดภัย และได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน

PRP คืออะไร

PRP หรือ Platelet-Rich Plasma คือผลิตภัณฑ์จากเลือด ที่มีการสกัดมาจากเลือดของผู้ป่วยเอง เป็นการสกัดเอาเกล็ดเลือดส่วนที่เป็นของเหลว (Plasma) ประกอบด้วยเกล็ดเลือด (Platelet) ที่อุดมไปด้วยสารต่าง ๆ เรียกโดยรวมว่า Growth Factors ซึ่งมีหน้าที่รักษา ซ่อมแซม และฟื้นฟูตัวเองของอวัยวะปลายที่ทำการรักษา ที่อาจมีอาการอักเสบ หรือการบาดเจ็บเกิดขึ้น หรือพูดง่าย ๆ ว่า PRP นั้น มีหน้าที่กระตุ้นกระบวนการสมานแผล และช่วยให้ฟื้นตัวได้รวดเร็วมากขึ้นนั่นเอง ข้อสำคัญคือ ไม่อันตรายเนื่องจากเป็นส่วนประกอบจากเลือดของผู้ป่วยเอง จึงเกิดอาการบวม หรือแพ้ได้น้อยมาก

PRP กับเส้นผม

PRP

PRP จะเข้าไปช่วยฟื้นฟูเส้นผมในบริเวณที่มีปัญหาการหลุดร่วง และทำให้กลับมามีความหนาได้ แต่จะไม่สามารถสร้างเส้นผมเส้นใหม่ขึ้นมาได้ PRP จึงไม่ถือว่าเป็นการปลูกผม แต่สิ่งที่ PRP ทำได้คือ ช่วยทำให้เส้นผมนั้นอ้วนขึ้น คือมีเส้นผ่านศูนย์กลางที่กว้างขึ้น หรือเส้นผมหนาขึ้นนั่นเอง และยังช่วยให้รากผมที่อยู่ในระยะพักกลับฟื้นขึ้นมาเป็นระยะงอกมากขึ้น PRP จึงเหมาะกับคนไข้กลุ่มผมบาง และคนไข้ที่มีอาการผมร่วงเป็นหย่อมที่ฉีดยาแล้วแต่ยังไม่เห็นผล

ขั้นตอนในการเตรียม PRP

เริ่มจากการเก็บเลือดของผู้ป่วยก่อนที่จะนำเข้าเครื่องเหวี่ยงแยกสาร แต่ไม่ต้องกังวลเลย เนื่องจากการนำเลือดมาใช้ในการทำ PRP นั้นจะมีการเก็บเลือดเพียง 10 – 20 cc. เท่านั้น ซึ่งน้อยกว่าการบริจาคเลือดถึง 3 – 4 เท่าเลย และเมื่อได้เลือดแล้วก็จะนำไปบรรจุในหลอดเก็บเลือดเพื่อเตรียมเข้าในเครื่องเหวี่ยงแยกสาร ซึ่งจะนำเข้าเครื่อง 2 ครั้ง เพื่อให้ได้ความเข้มข้นที่มีประสิทธิภาพ ก่อนที่จะนำมาฉีดในบริเวณที่มีปัญหาของผู้ป่วย

ขั้นตอนในการฉีด PRP เส้นผม

หมอจะเริ่มทำการทายาชาที่หนังศีรษะ บริเวณที่คนไข้มีปัญหา เมื่อยาชาออกฤทธิ์แล้ว หมอก็จะทำการฉีดยาชาอีกครั้งเนื่องจากหนังศีรษะมีรากผมที่เยอะมาก จึงมีเส้นประสาทเยอะ จากนั้นทำการฉีด PRP เป็นจุดเล็กๆ ในบริเวณที่มีปัญหา โดยมีความลึกเพียง 1 – 1.5 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นที่อยู่ของเซลล์รากผม เพื่อให้เกล็ดเลือดที่ฉีดเข้าไปกระตุ้นเซลล์รากผมนั่นเอง

ทั้งนี้คนไข้ควรสระผมก่อนเข้ารับการทำ PRP

ส่วนระยะเวลาในการฉีด PRP เส้นผม ควรฉีดเดือนละ 1 ครั้ง อย่างน้อย 3 ครั้งขึ้นไป และติดตามผลลัพธ์กับหมอเพื่อพิจารณาในครั้งถัดไป

การดูแลหลังฉีด PRP เส้นผม

หลังทำ PRP สามารถใช้ชีวิตปกติได้ แต่ผมบนหนังศีรษะจะบอบบาง บางรายอาจมีอาการช้ำได้ ดังนั้นจึงควรดูแลตนเองด้วยการ

ปัญหาผมร่วง ผมบางนั้นเกิดได้ในทุกเพศ และทุกคน โดยเพาะเมื่อมีอายุที่มากขึ้น และการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ก็มีอยู่หลายวิธี แต่จุดเด่นของการทำ PRP คือไม่ต้องผ่าตัด แถมยังปลอดภัย ใช้ระยะเวลาพักฟื้นน้อย การทำ PRP จึงเป็นอีกทางเลือกที่ตอบโจทย์ผู้ที่มีปัญหาผมร่วง ผมบางเป็นอย่างมาก